ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบที่ 1 หรือ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST


ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาระบบที่ 1 หรือที่เรียกกันว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหนึ่งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้การสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) มีต้นแบบการพัฒนามาจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Dynix และ Innopac

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมสำหรับให้บริการและบริหารจัดการระบบห้องสมุดที่ทันสมัยและมีฟังก์ชันการใช้งานที่ครอบคลุมความต้องการใช้งานในทุกด้าน ประกอบด้วยระบบงานหลักดังต่อไปนี้

1. ระบบจัดทำรายการสืบค้น (Cataloging Module)

2. ระบบการให้บริการยืม-คืน (Circulation Module)

3. ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Public Access Catalog-OPAC)

4. ระบบจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)

5. ระบบจัดทำรายการดัชนีวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Module)

6. ระบบบริหารจัดการด้านนโยบาย (System Administration Module)  และยังพัฒนาระบบงานเสริมเพิ่มเติมในส่วนของการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ RFID ผ่านมาตรฐาน SIP2 Protocol อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานโดยพัฒนาให้ระบบสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพาเช่น Smartphone หรือ Tablet สามารถใช้งานผ่านเว็บ(Web-based Application) เชื่อมต่อโมดูลการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (Catalog) กับระบบสหบรรณานุกรม (Union Catalog) และยังรองรับการยืมคืนระหว่างห้องสมุด ซึ่งในปัจุบันได้มีการพัฒนามาจนถึงระยะที่ 7 และจะยังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

ประวัติการพัฒนา

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 7 (2562) (ปัจจุบัน)
  Additional functions
 
  1. สามารถแสดงข้อมูลและส่งออกข้อมูลบรรณนานุกรมเพื่อใช้งานกับโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม (Citation)
  2. รองรับการทำ Metadata Harvesting ผ่านแหล่งข้อมูล Open Access ได้
  3. รองรับการยืมด้วยตนเองบนชั้นผ่านอุปกรณ์มือถือ (Mobile Check-out)
  4. รองรับการเพิ่มข้อมูลและให้บริการยืมคืนด้วยบัตรประชาชน
  5. สามารถจัดทำ QR-Code โดยผนวกข้อความ URL กับข้อมูลจากระบบได้
  6. สามารถยืนยันตัวตนบน Mobile Application แทนการใช้บัตรสมาชิกได้
  7. สามารถแจ้งเตือนข้อมูลผ่านทาง Line Application
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 6 (2559)
  Additional functions
 
  1. พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST Web-based Application (ต่อเนื่อง)
    -  Cataloging Module, Circulation Module, System Administration Module
    -  Tools: การจัดทำบาร์โค้ด ลาเบล
  2. ฟังก์ชันเพิ่มเติม
    -  การเชื่อมโยงข้อมูลสหบรรณานุกรม (Union Catalog Integration)
    -  ฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม ALIST Windows-based Application
    - สนับสนุนการให้บริการระบบยืมคืน (Inter Library Loan)
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 5 (2558)
  Additional functions
 
  1. พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST Web-basedผ Application
    -  Cataloging Module
    -  Cataloging Module
    -  Circulation Module
    -  System Administration Module
    -  Searching Function
  2. ฟังก์ชันเพิ่มเติม
  3. ฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม ALIST Windows-based Application
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 4 (2555)
  Additional functions
 
  1. ปรับปรุงระบบสืบค้นข้อมูล
  2. รองรับการทำงานด้วยบัตรสมาชิก RFID Mifare
  3. รองรับการใช้งาน Webcam
  4. รองรับการแจ้งเตือนผ่าน SMS
  5. รองรับการทำแผนที่หนังสือ ที่ตั้งหนังสือ (Library Map)
  6. มีระบบการสืบค้นรวมระหว่างห้องสมุดที่ใช้ ALIST ด้วยกัน (ALIST Single Search)
  7. ฟังก์ชันเพิ่มเติม
  8. ฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม ALIST Windows-based Application
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 3 (2553) 
  Additional functions
 
  1. ปรับปรุงระบบสืบค้นข้อมูล พัฒนา OPAC 2.0 สนับสนุนการทำงานรูปแบบ Web 2.0 (Comment, Review, Rating)
  2. Webpage Management พัฒนาเครื่องมือให้ผู้ดูแลจัดการเว็บไซด์ของตัวเอง
  3. Mobile Search สืบค้นข้อมูลผ่านอุปกรณ์ iOS, Android, Windows Phone (Browser on Mobile)
  4. บริการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน SIP2 (SIP2 Protocol) สำหรับอุปกรณ์ยืมคืนด้วยตัวเอง (Self-Check Kiosk)
ารพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 2 (2550) 
  Additional functions
 
  1. (New) Acquisition Module
  2. (New) Serial Control Module
  3. (New) System Administration Module
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 1 (2548) 
  Additional functions
 
  1. Cataloging Module
  2. Circulation Module
  3. OPAC Module



  • ALIST ระยะที่ 7
  • หน่วยงานที่ใช้ระบบ
  • ทดลองใช้งานระบบ
  • ติดต่อขอใช้งานระบบ

Module

Acquisitions Module
 
ส่วนงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นส่วนของการพิจารณารายการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อดำเนินการจัดหามาบริการภายในห้องสมุด  โดยมีช่องทางให้สมาชิกห้องสมุดมีส่วนร่วมในการเสนอรายชื่อหรือแนะนำรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการให้ห้องสมุดจัดหา   ประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้
  • เชื่อมโยงข้อมูลจาก Acquisition Module ไปยัง Cataloging Module ได้ทันที
  • สมาชิกห้องสมุดสามารถแนะนำและตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อทรัพยากรได้ด้วยตนเอง ผ่านทาง Web OPAC
  • จัดทำรายการสั่งซื้อ    สร้างใบเสนอราคาและใบสั่งซื้อ  ได้จากระบบ
  • มีฟังก์ชันการตรวจรับทรัพยากรได้แก่ Check-in , Claim , Cancel
  • จัดสรรแหล่งเงินและรายงานสถานะทางการเงินของแต่ละหน่วยงานได้
  • เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบรายงานการสั่งซื้อที่ยังไม่ได้ทำใบ invoice
  • เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบรายงานใบ invoice ที่ยังไม่ตัดเงิน
  • เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบรายงานรายการสั่งซื้อที่ได้รับบางส่วน
  • เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบรายงานเตือนเมื่อถึงกำหนดรับตัวเล่มทรัพยากร
  • มีรายงานสรุปการใช้จ่ายงบประมาณ
Cataloging Module
 

ส่วนงานจัดทำรายการสืบค้นเป็นส่วนงานหลักสำหรับการบันทึกข้อมูลบรรณานุกรม มีฟังก์ชันการทำงานดังนี้

  • รูปแบบการป้อนข้อมูลบรรณานุกรมอิงมาตรฐาน MARC 21
  • ผู้ใช้งานสามารถกำหนด worksheet สำหรับการป้อนข้อมูลได้เอง
  • สามารถสร้างข้อมูลชุดใหม่จากข้อมูลเดิม (Clone) ได้
  • นำเข้าข้อมูลบรรณานุกรม (รูปแบบ MARC ISO 2709) เข้าในระบบได้
  • มีระบบการตรวจสอบและเตือนสำหรับการป้อนข้อมูลบรรณานุกรมซ้ำ
  • มีระบบการล็อคข้อมูลสำหรับการเข้าแก้ไขข้อมูลเดียวกันในเวลาเดียวกัน
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเช่น ISBN, ISSN, 14 digit Barcode เป็นต้น
  • ไม่จำกัดปริมาณข้อมูลบรรณานุกรมและข้อมูลตัวเล่ม
  • นำข้อมูลในกลุ่ม 1XX, 4XX, 6XX, 7XX เพื่อจัดทำ Authority Control
  • ระบบมีฟังก์ชันการผนวกข้อมูลบรรณานุกรม (Merge Bibliographic)
  • รูปแบบการป้อนข้อมูล Authority อิงมาตรฐาน MARC21 เพื่อทำรายการโยง (See Ref. , See Also)
  • สามารถพิมพ์ Label ปิดตัวเล่มหนังสือจากระบบได้
Serials Module
 

ส่วนงานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องเป็นส่วนการจัดการกับข้อมูลวารสาร ประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้

 

  • รูปแบบการป้อนข้อมูลบรรณานุกรมอิงมาตรฐาน MARC21
  • สามารถกำหนด Publication Pattern มาตรฐานและรูปแบบทั้งที่เป็นมาตรฐานและไม่เป็นมาตรฐานได้
  • รูปแบบข้อมูล Enumeration Data 6 ระดับ และ Chronological Data 4 ระดับ
  • สร้าง Check-in Card สำหรับการทำงานของวารสารแต่ละชื่อ
  • วราสารแต่ละชื่อสามารถสร้าง Block issue และกำหนด Expected date ตามรูปแบบการบอกรับล่วงหน้าได้ 1 ปี
  • Check-in ตัวเล่มได้หลายเล่มพร้อมกัน ซึ่งอาจจะมีข้อมูล Barcode หรือไม่มีก็ได้
  • มีระบบการเตือนตัวเล่มเกินกำหนดได้รับ และสามารถทวงได้ผ่านทาง mail
  • มีฟังก์ชันการ Binding, Bound ตัวเล่มวารสาร
Circulation Module
 

ส่วนงานให้บริการยืม-คืน ประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้

  • บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
  • บริการจองทรัพยากรสารสนเทศ
  • บริการการยืมต่อทรัพยากรสารสนเทศ
  • การรับแจ้งทรัพยากรหาย
  • การจัดการค่าปรับต่างๆ
  • การเรียกทรัพยากรสารสนเทศคืน
  • การจัดการข้อมูลสมาชิก
  • การจัดการข้อความแจ้งเตือนของสมาชิก
  • การสำรองทรัพยากรภายในห้องสมุด
  • การสำรวจทรัพยากรภายในห้องสมุด
  • การใช้งาน Offline Mode
  • สามารถใช้งานร่วมกับระบบ RFID ได้
  • รายงานสรุปสถิติการให้บริการยืม-คืน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
OPAC
 

Online Public Access Catalog (OPAC) เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยสืบค้นและแสดงรายละเอียด รายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารของห้องสมุดให้ผู้ใช้บริการได้รับทราบ OPAC ประกอบด้วย ฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้

 

  • แสดงข้อมูลข่าวสารทั่วไปและช่องทางสื่อสารกับห้องสมุด
  • สืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศได้หลายรูปแบบ
  • แสดงข้อมูลรายละเอียดของสมาชิกห้องสมุด
  • การต่ออายุการยืม (Renew) รายการสารสนเทศ
  • การจอง (Hold) รายการสารสนเทศ
  • การเสนอแนะรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ห้องสมุดจัดหา
  • การส่งออกข้อมูลบรรณานุกรมในรูปแบบต่าง ๆ
  • รายงานสถิติจำนวนทรัพยากรของห้องสมุดและสถิติการสืบค้นต่าง ๆ
  • สามารถสร้างรายงานข้อมูลได้ตามความต้องการ
System Administration Module
 

เป็นส่วนที่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการกับระบบได้ในเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลักดังนี้

  • สามารถกำหนดนโยบายการให้บริการยืม คืน ได้ เช่น ค่าปรับ  ระยะเวลาในการยืม โดยแยกตามประเภทของสมาชิกและทรัพยากร
  • กำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานระบบให้กับเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
  • ป้อน/ปรับปรุงข้อมูล Lookup Tables
  • สามารถกำหนดรายละเอียดของ Tag ได้เอง”
  • มีฟังก์ชันในการจัดการห้องสมุดสาขา”
  • สามารถปรับปรุงข้อมูลหลายรายการได้ (Global change)”
  • สามารถจัดทำกลุ่มข้อมูลเพื่อการปรับปรุงได้ (Review File)”
  • เครื่องลูกข่ายสามารถอัพเดทโปรแกรมได้อัตโนมัติ”
Report
 

ผู้ใช้สามารถสร้างรายงานข้อมูลตามความต้องการได้นอกเหนือจากรายงานที่มีอยู่ในระบบซึ่งแสดงผลข้อมูลโดยสรุปของทุกโมดูล ประกอบด้วยรายงานต่าง ๆ ดังนี้

  • รายงานการสั่งซื้อแยกตามประเภทคณะ/ภาควิชา
  • รายงานบรรณานุกรมที่ถูกสร้างและแก้ไข
  • รายงาน Authority ที่ถูกสร้างและแก้ไข
  • รายงานทรัพยากรจองทั้งหมด
  • รายงานแจ้งรับทรัพยากร
  • รายงานทรัพยากรค้างค่าปรับ
  • รายงานการคืนทรัพยากร
  • รายงานค่าปรับระบบยืมคืน
  • รายงานทรัพยากรค้างส่ง
  • รายงานทรัพยากรหาย
  • รายงานรายการทรัพยากรซ่อม
  • สถิติการยืมทรัพยากร

OPAC2.0
 

OPAC2.0 ถูกพัฒนาขึ้นจาก “ระบบการสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ” โดยใช้เทคโนโลยี Web 2.0 โดยเพิ่มประสิทธิภาพ OPAC และคุณลักษณะในการค้นหาของรายการโดยการควบคุมทางบรรณานุกรมมากขึ้นและรายการข้อมูลสำหรับการค้นหาต่อเนื่องรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ

นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีส่วนบุคคลและชุมชน ผู้ใช้สามารถทบทวนเพื่อให้การค้นพบสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กำหนดคำ (tag), ให้ Rating รายการทรัพยากรสารสนเทศที่สนใจ ,วิจารณ์หนังสือ (review) และแสดงความคิดเห็นในรายการต่าง ๆ ได้ เช่น เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เสนอแนะความคิดเห็น(User Comment)ได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น และเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้ได้อีกด้วย ประกอบด้วย function การทำงานต่าง ๆ ดังนี้

  • iOPAC
  • Tag Cloud (การแสดงเขตข้อมูลที่ได้รับความนิยม)
  • My Friend (เพื่อนของฉัน)
  • My Share (การแบ่งปันของฉัน)
  • My List (รายการหนังสือของฉัน)
  • My Preferred (คำค้นของฉัน)
  • My Comment (แสดงความคิดเห็น)
  • Patron Data Manage (การจัดการข้อมูลสมาชิก)
  • Setting (การตั้งค่าของระบบ)
  • Statistic (สถิติและรายงาน)
Mobile App (iOS,Android)
 

ระบบ ALIST สามารถสืบค้นผ่าน Application บน Smart Phone ได้ทั้งรองรับระบบปฏิบัติการ iOS และAndroid

 

หน่วยงานที่ใช้งานระบบจำนวน 19 สถาบัน

กลุ่มสถาบัน

สถาบันที่ติดตั้ง

เวอร์ชันปัจจุบัน

ปีที่เริ่มใช้งาน

สถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (5 วิทยาเขต)(สงขลา,ปัตตานี,ตรัง,ภูเก็ต,สุราษฎร์ธานี)

ระยะที่ 6

2543

มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์

ระยะที่ 6

2551

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ระยะที่ 6

2551

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โคราช

ระยะที่ 6

2551

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ระยะที่ 6

2551

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (4 วิทยาเขต) (ขอนแก่น, กาฬสิน, สุรินทร์ และสกลนคร)

ระยะที่ 6

2554

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ

ระยะที่ 6

2555

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

ระยะที่ 6

2556

มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

ระยะที่ 6

2557

มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

ระยะที่ 6

2557

มหาวิทยาลัยพะเยา

ระยะที่ 6

2557

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ระยะที่ 6

2559

มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

ระยะที่ 6

2559

มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ระยะที่ 6

2559

หน่วยงานอื่น

โรงพยาบาลหาดใหญ่

ระยะที่ 6

2552

โรงเรียนมหาวชิราวุธ

ระยะที่ 6

2553

สถาบันอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

ระยะที่ 6

2556

ห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ระยะที่ 6

2562

ห้องสมุดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร

ระยะที่ 6

2562

 

สามารถทดลองใช้งานระบบได้ที่

OPAC User : user1 password : user 1
User : user2 password : user 2
User : user3 password : user 3
User : user4 password : user 4
client download คู่มือการติดตั้ง Client

 

สามารถติดต่อขอรับ Software ได้ฟรี ได้ที่

สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

Tel : 0 2232 4000 ต่อ 3001 - 3005

E-Mail : noc-thailis@uni.net.th

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายบริการลูกค้า/ให้คำปรึกษา Tel :0-7428-2120,0-7428-9093

 

 

หมายเหตุ: อาจมีค่าบำรุงรักษากรุณาติดต่อผู้พัฒนาระบบ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.alist.psu.ac.th/

ติดต่อสอบถาม

สอบถามข้อมูลโครงการ

เว็บไซต์ URL : https://www.uni.net.th

Tel : 0 2232 4000 ต่อ 3001 - 3005

E-Mail : noc-thailis@uni.net.th

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST :0 7428 2120

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib :0 7567 2287, 08 6478 8442

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM :0 2470 8233, 0 2470 8222, 0 2470 8239


สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม