โครงการจัดทำระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษา

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติโดยคนไทย เพื่อคนไทย
สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษา


 สืบเนื่องจากการที่ห้องสมุดในประเทศไทยเริ่มก้าวสู่การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง พ . ศ . 2530 – 2531 โดยมีห้องสมุดประมาณ 20 แห่ง โดยแต่ละแห่งได้จัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรม Micro CDS/ISIS ซึ่งยูเนสโกให้ใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ต่อมาในปี พ . ศ .2533 ไอดีพีได้จัดซื้อและติดตั้งโปรแกรมระบบห้องสมุดสำเร็จรูปให้กับสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ระบบ SEA-URICA โดยใช้ระบบการจัดทำรายการสืบค้น และระบบการสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ ระบบ URICA ถือเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่นำเข้าสู่วงการห้องสมุดอัตโนมัติของประเทศไทย ต่อมามีห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่งจัดซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปซึ่งพัฒนาโดยบริษัทในต่างประเทศมาใช้ ตัวอย่างเช่น ระบบ DYNIX TINLIB INNOPAC หรือ C2 เป็นต้น ในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติดังกล่าว นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแล้ว ห้องสมุดจะต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทุกห้องสมุดแล้วไม่น้อยกว่าปีละ 30 ล้านบาท นับเป็นงบประมาณจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะคงภาวะเช่นนี้อีกนานหากห้องสมุดต่างๆ ยังไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า

 

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ปัจจุบันคือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) จึงมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อให้อุดมศึกษาได้ใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติ และค่าบำรุงรักษา โดยในปีพ.ศ. 2547  ได้มีการสำรวจมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย พบว่า มี 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ลงนามความร่วมมือกับ 3 มหาวิทยาลัยดังกล่าว และสนับสนุนงบประมาณให้ทั้ง 3 มหาวิทยาลัยพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ ทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งทั้ง 3 ระบบได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน

Automated Library System

ALIST

พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ได้แนวคิดการพัฒนามาจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX และ INNOPAC

WALAI AutoLib

พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้แนวคิดการพัฒนามาจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS

KMUTT-LM

พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ได้แนวคิดการพัฒนามาจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC

ติดต่อสอบถาม

สอบถามข้อมูลโครงการ

เว็บไซต์ URL : https://www.uni.net.th

Tel : 0 2232 4000 ต่อ 3001 - 3005

E-Mail : noc-thailis@uni.net.th

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST :0 7428 2120

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib :0 7567 2287, 08 6478 8442

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM :0 2470 8233, 0 2470 8222, 0 2470 8239


สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม