ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบที่ 2 หรือ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLIB


ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาระบบที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLibพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหนึ่งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้การสนับสนุนภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) มีต้นแบบการพัฒนามาจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLIB ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติที่มีหน่วยงานที่นำระบบไปใช้มากที่สุดระบบหนึ่ง ด้วยเป็นระบบริหารจัดการระบบห้องสมุดที่ทันสมัยและมีฟังก์ชันการใช้งานที่ครอบคลุมความต้องการใช้งานในทุกด้าน ประกอบด้วยระบบงานหลักดังต่อไปนี้

1. ระบบบริหารจัดการ (Policy Management Module)

2. ระบบระบบจัดซื้อ-จัดหา (Acquisition Module)

3. ระบบลงรายการทรัพยากร(Cataloging Module)

4. ระบบยืม-คืน (Circulation Module)

5. ระบบสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC & Utility Module)

6. ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial Control Module)

7. ระบบควบคุมรายการหลักฐาน(Authority Control Module)

และยังพัฒนาระบบงานเสริมเพิ่มเติมในส่วนของการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ RFID ผ่านมาตรฐาน SIP2 Protocol ทั้งยังเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานโดยพัฒนาให้ระบบสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพาเช่น Smartphone หรือ Tablet สามารถใช้งานผ่านเว็บ(Web-based Application) เชื่อมต่อโมดูลการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (Catalog) กับระบบสหบรรณานุกรม (Union Catalog) และยังรองรับการยืมคืนระหว่างห้องสมุด และอีกหลากหลายฟังก์ชัน ซึ่งในปัจุบันได้มีการพัฒนามาจนถึงระยะที่ 7 และจะยังคงพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

 

ประวัติการพัฒนา

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2562)(ปัจจุบัน)
  พัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของโมดูลที่พัฒนาในระยะที่ 6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 

 

  • ระบบงานสร้างชุดรายการข้อมูล (Create List Module) เพิ่มเติมฟังก์ชันงานที่รองรับข้อมูลดรรชนีวารสาร (Journal index) และระเบียนหลักฐาน (Authority record)
  • ระบบงานปรับปรุงข้อมูล (Global Update) เพิ่มเติมฟังก์ชันงานที่รองรับข้อมูลดรรชนีวารสาร (Journal index) และระเบียนหลักฐาน (Authority record)

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมดังนี้

  • ระบบงานสืบค้นและยูทิลิตี้ (OPAC & Utilities module) เพิ่มฟังก์ชันการส่งออกข้อมูลให้สามารถให้งานได้กับโปรแกรม Zotero และ Mendeley
  • ระบบงานยืมคืนด้วยตนเอง (Self-Circulation) เป็นระบบงานที่รองรับการยืมทรัพยากรผ่านโมบายแอพพลิเคชันทั้งในระบบปฎิบัติการ Android และ IOS
  • ระบบงานเครื่องลูกข่ายเสมือน (Virtual client) เป็นระบบที่รองรับกระบวนการจัดการเครื่อง Client สำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนโอนย้ายไปยังพื้นที่ต่างๆ ของห้องสมุด และสามารถออกรายการการใช้งาน
  • ระบบสืบค้นสารสนเทศทรัพยากรแบบรวมศูนย์ (Resources discovery service) เป็นระบบที่รองรับการนำข้อมูล Open data จากฐานข้อมูลอื่นๆ และบันทึกระบบเพื่อการให้บริการสมาชิกแบบ Single search
ระบบการค้นหาทรัพยากรบนชั้นหนังสือ (Bookshelf discovery) เป็นระบบที่ช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาทรัพยากรบนชั้นหนังสือจริง โดยมีทั้งรูปแบบที่เป็น Web based application และ Mobile application
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 6
  พัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของโมดูลที่พัฒนาในระยะที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
  • เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ (Administrative tool) ปรับปรุงระบบให้เป็น Web based application และให้สามารถติดตามการใช้งานของ Hardware และการใช้งานของผู้ใช้ทั้งในส่วนเจ้าหน้าที่และผู้ใช้ทั่วไป

มีการพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมดังนี้

  • ระบบ WALAI AutoLib Data Converter เป็นระบบที่รองรับการตรวจสอบข้อมูลและโอนย้ายข้อมูลทั้งหมดจากระบบ WALAI AutoLib 2.0 ไปยัง WALAI AutoLib 3.0
  • ระบบ WALAI AutoLib Importer เป็นระบบที่รองรับการตรวจสอบข้อมูลและนำเข้าข้อมูลจากระบบอื่นๆ เข้าสู่ระบบ WALAI AutoLib 3.0
  • Mobile Application แอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟสรองรับการบริการสมาชิกและการสืบค้นผ่านระบบปฏิบัติการ IOS
  • WALAI Inter Loan เป็นการพัฒนาแอพพลิเคชันและ Web service ที่รองรับการทำการยืมข้ามห้องสมุดระหว่างห้องสมุดที่ใช้ระบบ WALAI AutoLib ด้วยกัน และระบบห้องสมุดอื่นๆ ผ่านสหบรรณานุกรมสถาบันอุดมศึกษาไทย (UC-TAL)

มีการปรับปรุงเวอร์ชันจาก WALAI AutoLib 2.0 เป็น WALAI AutoLib 3.0 ให้กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 3 สถาบัน

)
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 5
 

พัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของโมดูลที่พัฒนาในระยะที่ 4 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 
  • ระบบจัดการข้อมูลสมาชิก (Patron management module) ปรับปรุงส่วนนำเข้าจากไฟล์ข้อมูลซึ่งมีการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลโดยอัตโนมัติ และพัฒนาะระบบงานย่อยรองรับการจัดการเงินประกันสำหรับสมาชิกเพื่อใช้จ่ายในค่าบริการ ค่าปรับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในห้องสมุด
  • ระบบงานจัดซื้อจัดหา (Acquisition module) ปรังปรุงระบบจัดการโครงสร้างงบประมาณให้สามารถปรับแก้โครงสร้างได้ตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน พัฒนาระบบงานที่รองรับการจัดซื้อแบบ Book fair พัฒนาระบบงานย่อยเพื่อรองรับกระบวนการจัดซื้อฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาฟังก์ชันงานที่รองรับการปรับเปลี่ยนสกุลเงิน
  • ระบบงานจัดทำรายการ (Cataloging module) เพิ่มประสิทธิภาพของงานจัดทำรายการให้รองรับมาตรฐานการลงรายการแบบ MARC 21 รูปแบบใหม่ที่เริ่มนำมาใช้กับห้องสมุดทั่วโลกคือ RDA และ AACR 3 พัฒนาระบบรองรับการจัดทำ label สันหนังสือในรูปแบบแถบสี ซึ่งรองรับการจัดหมวดหมู่แบบสากล และพัฒนารูปแบบการสืบค้นเพิ่มเติมในแอพพลิเคชัน (Limited search, Boolean search และ FACET search)
  • ระบบงานควบคุมรายการหลักฐาน (Authority control module) พัฒนาระบบงานที่เชื่อมโยงข้อมูลระเบียนหลักฐานระหว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดกับฐานข้อมูลของสหบรรณานุกรมสถาบันอุดมศึกษาไทย และพัฒนาส่วนสำหรับเชื่อมโยงระเบียนหลักฐานหัวเรื่องระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ระบบงานยืมคืน (Circulation Module) พัฒนาส่วนงานที่เชื่อมโยงกับระบบเงินประกันของสมาชิกเพื่อหักค่าบริการและค่าปรับ และพัฒนาส่วนบริการให้ยืมหนังสือพร้อมจัดส่งไปยังจุดบริการ (Document delivery)
  • ระบบงานสืบค้นและยูทิลิตี้ (OPAC & Utilities module) ปรับปรุงหน้าจอเว็บไซต์ให้อยู่ในรูปแบบ Responsive Web Design พัฒนาส่วนการแสดงแถบสีตามหมวดหมู่ของรายการที่สืบค้น พัฒนาเพิ่มเติมในส่วนการสืบค้นและกรองข้อมูลแบบ FACET พัฒนาส่วนการกำหนดการเข้าถึง Digital file ตามระบบเครือข่าย พัฒนาส่วนการแสดง Auto completed เพื่อแนะนำคำค้นในระหว่างสืบค้น พัฒนาส่วนการส่งของข้อมูลในรูปแบบ APA และ Dublin Core Metadata พัฒนาส่วนการติดต่อกับบรรณารักษ์ที่ให้บริการผ่านระบบสืบค้น

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมดังนี้

  • ระบบชั้นหนังสือเสมือน (Virtual Book Shelf) ระบบรองรับการแสดงโครงสร้างตู้หนังสือพร้อมทั้งแสดงพิกัดของทรัพยากรที่ต้องการในตู้หนังสือ
  • ระบบงานสร้างชุดรายการข้อมูล (Create List Module) ระบบที่สามารถสร้างชุดรายการจากการกำหนดคำสั่งโดยเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
  • ระบบงานปรับปรุงข้อมูล (Global Update) การปรุงรายการข้อมูลจำนวนมากผ่านการกำหนดคำสั่งในระบบ และสามารถย้อนกลับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
  • เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ (Administrative tool) รองรับการทำงานของผู้ดูแลระบบในการกำหนดค่าในการใช้งานระบบและติดตามการทำงานของระบบแบบ Real time
  • API Web service ส่วนรองรับการเชื่อมต่อฟังก์ชันงานกับระบบอื่นๆ
  • Mobile Application แอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟสรองรับการบริการสมาชิกและการสืบค้นผ่านระบบปฏิบัติการ Android
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 4
 

เป็นการปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูลให้รองรับการทำงานจากความต้องการของห้องสมุดที่ใช้งาน  ปรับปรุงแอพพลิเคชันให้ทำงานบนระบบปฎิบัติการเวอร์ชันใหม่ (Window 8 / Windows 10)  (ระบบ WALAI AutoLib 2.0 เป็น ระบบ WALAI AutoLib 3.0) รวมทั้งยังมีการพัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของโมดูลที่พัฒนาในระยะที่ 3

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมดังนี้

 
  • Street view เป็นระบบที่แนะนำเส้นทางให้กับผู้ใช้ไปยังชั้นหนังสือของทรัพยากรที่ต้องการ
Dashboard สำหรับผู้บริหาร
การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 3  
 

พัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของโมดูลที่พัฒนาในระยะที่ 2 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 
  • ระบบบริหารจัดการนโยบาย (Policy management module) พัฒนาระบบในส่วนการใช้งานโมดูลงานย่อย การกำหนดสิทธิ์การใช้งานทั้งแบบกลุ่มผู้ใช้ การตั้งค่าหน่วยงบประมาณอย่างน้อย 4 ระดับ การตั้งค่าการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลห้องสมุดอื่นๆ ผ่านโปรโตคอล Z39.5
  • ระบบงานจัดทำรายการ (Cataloging module) พัฒนาระบบในส่วนการเชื่อมโยงกับ Digital file เพื่อแสดงผลในระบบสืบค้น การจัดการข้อมูลเพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับ RFID การส่งออกไฟล์ในรูปแบบมาตรฐานสากล และปรับปรุงในส่วนรายละเอียดการใช้งานจากข้อเสนอแนะของผู้ใช้เช่น การใช้ Hot key ในการลงรายการ การปรับให้ลาเบลสันหนังสือสามารถปรับแก้ได้ตามความต้องการของแต่ละห้องสมุด
  • ระบบงานยืมคืน (Circulation module) พัฒนาระบบที่เชื่อมโยงกับเครื่องยืมคืนด้วยตนเอง (Self-check kiosk) การส่งอีเมล์แจ้งไปยังสมาชิก การออกรายงานสรุปประจำปี
  • ระบบงานควบคุมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial control) พัฒนาระบบงานที่รองรับการเชื่อมโยงกับ MARC Holding ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Check in card  พัฒนาส่วนเชื่อมโยงกับ Digital file และพัฒนาส่วนรองรับการเย็บเล่ม
  • ระบบงานจัดซื้อจัดหา (Acquisition module) ปรับปรุงระบบให้เข้ากับรูปแบบการใช้งานของแต่ละห้องสมุด และพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมสำหรับรองรับการจัดซื้อด้วยเงินสด และการอภินันทนาการ
  • ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC & Utility module) ปรับปรุงประสิทธิภาพการสืบค้นในรูปแบบต่างๆ พัฒนาระบบงานย่อยรองรับการใช้งานแบบ My library พัฒนาส่วนการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ และนำรูปแบบการการใช้งานของ Library 2.0 เข้ามาใช้งาน
  • ระบบงานควบคุมรายการหลักฐาน (Authority control module) ปรับปรุงการทำงานของระบบให้รองรับการทำระเบียนหลักฐานหลายประเภท ส่วนรองรับการทำ Global update พัฒนาส่วนสำหรับตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมได้แก่

  • Digital collection management เป็นระบบที่รองรับการจัดการไฟล์ข้อมูลที่บันทึกข้อมูลอยู่ในรูปแบบ Dublin Core Metadata และเชื่อมโยงกับระเบียนบรรณนุกรมผ่านชุดคำสั่งสำหรับแปลงผันข้อมูล (Convert) และสามารถสืบค้นได้ในระบบ OPAC
  • ระบบการยืมคืนด้วยตนเอง (Self-Check) เป็นการพัฒนาระบบที่รองรับการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ที่รองรับการยืมคืนด้วยตนเอง

มีการดำเนินการติดตั้งระบบให้กับห้องสมุดนำร่องจำนวน 9 ห้องสมุด

ารพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 2
  พัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของโมดูลที่พัฒนาในระยะที่ 1 ตามข้อกำหนดของสกอ. โดยต้องให้ระบบใช้งานกับห้องสมุดสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้  พัฒนาโมดูลการทำงานเพิ่มเติมโดยมีส่วนการเชื่อมต่อกับโมดูลต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานร่วมกันในแต่ละโมดูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังมีโมดูลที่พัฒนาเพิ่มเติมได้แก่
 

 

  • ระบบบริหารจัดการนโยบาย (Policy management module)
  • ระบบงานควบคุมรายการหลักฐาน (Authority control module)

มีการดำเนินการติดตั้งระบบให้กับห้องสมุดนำร่องจำนวน 8 ห้องสมุด

การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ระยะที่ 1
  พัฒนาระบบห้องสมุดตามข้อกำหนดของคณะกรรมการThaiLIS กับความต้องการระบบของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งใช้ระบบห้องสมุด VTLS ประกอบด้วยโมดูลการทำงานดังนี้
 

 

  • ระบบงานจัดทำรายการ (Cataloging module)
  • ระบบงานยืมคืน (Circulation module)
  • ระบบงานควบคุมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial control)
  • ระบบงานจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)
  • ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC & Utility module)
  • ระบบงานออกรายงาน (Report)

มีการดำเนินการการติดตั้งให้กับห้องสมุดนำร่อง 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



  • WALAI AutoLib ระยะที่ 7
  • หน่วยงานที่ใช้ระบบ
  • ทดลองใช้งานระบบ
  • ติดต่อขอใช้งานระบบ

Module

ประกอบด้วยระบบงานหลักดังต่อไปนี้

1. ระบบบริหารจัดการ (Policy Management Module)

2. ระบบระบบจัดซื้อ-จัดหา (Acquisition Module)

3. ระบบลงรายการทรัพยากร(Cataloging Module)

4. ระบบยืม-คืน (Circulation Module)

5. ระบบสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC & Utility Module)

6. ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial Control Module)

7. ระบบควบคุมรายการหลักฐาน(Authority Control Module)

และพัฒนาฟังก์ชันงานเพิ่มเติมและปรับปรุงการทำงานของ Module เพิ่มเติมดังนี้
 

การยืมทรัพยากรในห้องสมุดด้วยต้นเองผ่าน Mobile Application (Self-Circulation System)

การจัดการเครื่องลูกข่ายเสมือน (Virtual Client Management)

การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแบบรวมศูนย์ (Resources Discovery Service (RDS))

การค้นหาทรัพยากรในชั้นหนังสือบน Web based Application และ Mobile Application (Bookshelf Discovery)

ระบบจัดการระเบียนข้อมูลต่าง ๆ (Create Lists Module)

Library Management System Enhancement

 

Mobile App สามารถสืบค้นผ่าน Application บน Smart Phone ได้

 

หน่วยงานที่ใช้งานระบบจำนวน 86 สถาบัน

กลุ่มสถาบัน

สถาบันที่ติดตั้ง

เวอร์ชันปัจจุบัน

ปีที่ติดตั้ง

สถาบันอุดมศึกษา
10 แห่ง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Ultimate

2549

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

1.3

2553

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2.0 (7 Module)

2553

มหาวิทยาลัยนครพนม

2.0 (7 Module)

2553

มหาวิทยาลัยทักษิณ

2.0 (7 Module)

2554

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

2.0 (7 Module)

2555

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Ultimate

2559

มหาวิทยาลัยบูรพา

Ultimate

2560

สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Ultimate

2561

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

2.0 (7 Module)

2561

 

 

 

วิทยาลัยชุมชน 21 แห่ง

สำนักบริหารวิทยาลัยชุมชน

2.0 (7 Module)รวมศูนย์

2550

วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส

 

2550

วิทยาลัยชุมชนพังงา

 

2550

วิทยาลัยชุมชนแพร่

 

2550

วิทยาลัยชุมชนยะลา

 

2550

วิทยาลัยชุมชนระนอง

 

2550

วิทยาลัยชุมชนสตูล

 

2550

วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

 

2551

วิทยาลัยชุมชนพิจิตร

 

2551

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

 

2551

วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

 

2551

วิทยาลัยชุมชนยโสธร

 

2551

วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว

 

2551

วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู

 

2551

วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี

 

2551

วิทยาลัยชุมชนตราด

 

2552

วิทยาลัยชุมชนตาก

 

2552

วิทยาลัยชุมชนปัตตานี

 

2552

วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร

 

2552

วิทยาลัยชุมชนน่าน

 

 -

วิทยาลัยชุมชนสงขลา

 

 -

 

 

 

มหาวิทยาลัยราชมงคล
7 แห่ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

2.0 (7 Module)

2551

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

2.0 (7 Module)

2552

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภายัพ

2.0 (7 Module)

2553

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย

รวมกับศูนย์ล้านนาพายัพ

2553 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

2.0 (7 Module)

2553

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

2.0 (7 Module)

2554

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

Ultimate

2556

 

 

 

สถาบันราชภัฏ
12 แห่ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

1.3

2551

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

2.0 (7 Module)

2552

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

2.0 (7 Module)

2552

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

2.0 (7 Module)

2554

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

2.0 (7 Module)

2554

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

1.3

2555

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

2.0 (7 Module)

2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

2.0 (7 Module)

2557

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิษถ์

2.0 (7 Module)

2559

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

2.0 (7 Module)

2560

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Ultimate

2562

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Ultimate

2561

 

 

 

ห้องสมุดเฉพาะด้าน
14 แห่ง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

2.0 (7 Module)

2551

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

2.0 (7 Module)

2551

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

TCDC

2552

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (NDMI)

2.0 (4 Module)

2552

ห้องสมุด 100 ปี เสม พริ้งพวงแก้ว (สวรส.)

2.0 (7 Module)

2554

ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน

1.3

2554

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

1.3

2555

กรมแพทย์แผนไทย

2.0 (7 Module)

2556

กระทรวงยุติธรรม

2.0 (7 Module)

2557

ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

2.0 (7 Module)

2558

โครงการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนวิทยาศาสตร์กลุ่ม ปตท. พื้นที่ภาคตะวันออก

2.0 (7 Module)

2558

วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา

2.0 (7 Module)

2558

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)

2.0 (7 Module)

2559

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

2.0 (4 Module)

2561

 

 

 

ห้องสมุด TK
22 แห่ง

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (TK Park)

TK

2553

อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park ยะลา)

 

2554

อุทยานการเรียนรู้สมุทรสาคร (SK Park)

 

2554

อุทยานการเรียนรู้สตูล (TK Park สตูล)

 

2555

อุทยานการเรียนรู้ระยอง (TK park RAYONG)

 

2556

อุทยานการเรียนรู้ตราด (TK park TRAT)

 

2556

อุทยานการเรียนรู้เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

 

2556

อุทยานการเรียนรู้นครราชสีมา

 

2556

อุทยานการเรียนรู้นครหาดใหญ่ (TK park HatYai)

 

2556

อุทยานการเรียนรู้เทศบาลเมืองบ้านพรุ

 

2557

อุทยานการเรียนรู้นครภูเก็ต

 

2557

อุทยานแห่งการเรียนรู้ ภูเก็ต (CUPK)

 

2557

อุทยานการเรียนรู้ลำปาง

 

2557

อุทยานการเรียนรู้ร้อยเอ็ด

 

2558

อุทยานการเรียนรู้สงขลา

 

2558

อุทยานการเรียนรู้จังหวัดกระบี่

 

2560

อุทยานแห่งการเรียนรู้ปัตตานี

 

2560

อุทยานการเรียนรู้แม่ฮ่องสอน

 

2560

อุทยานการเรียนรู้ศรีสะเกษ

 

2561 

อุทยานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เมืองลำปาง

 

2561

อุทยานการเรียนรู้นราธิวาส

 

2562

อุทยานการเรียนรู้บุรีรัมย์

 

2562

 

สามารถทดลองใช้งานระบบได้ที่

OPAC ข้อมูลสำหรับใช้ทดสอบระบบและรหัสผู้ใช้
client  

 

สามารถติดต่อขอรับ Software ได้ฟรี ได้ที่

สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

Tel : 0 2232 4000 ต่อ 3001 - 3005

E-Mail : noc-thailis@uni.net.th

 
โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib

หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

 

โทร 0 7567 2287, 08 6478 8442 โทรสาร 0 7567 2958
Email Address:walai.support@gmail.com

 

 

หมายเหตุ: อาจมีค่าบำรุงรักษากรุณาติดต่อผู้พัฒนาระบบ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.walaiautolib.com/

ติดต่อสอบถาม

สอบถามข้อมูลโครงการ

เว็บไซต์ URL : https://www.uni.net.th

Tel : 0 2232 4000 ต่อ 3001 - 3005

E-Mail : noc-thailis@uni.net.th

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST :0 7428 2120

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib :0 7567 2287, 08 6478 8442

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM :0 2470 8233, 0 2470 8222, 0 2470 8239


สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม